
เหมาะกับทุกประเภทธุรกิจ มีอายฟลีตจีพีเอส เหมือนมีเลขาส่วนตัว ผู้ช่วยที่จะทำให้คุณควบคุมการขนส่งได้สบายๆ ตามติดทุกความเคลื่อนไหว ตลอด 24 ชม. ย่นเวลาขนส่ง งบไม่บานปลาย คาดการณ์ระยะเวลาขนส่งได้ล่วงหน้า วิ่งนอกเส้นทาง แจ้งเตือนทันที สั่งงานง่ายแค่ใช้ปลายนิ้ว!
เหมาะกับบุคคลทั่วไป เมื่อรถของคุณไม่ปลอดภัย รถหายกลายเป็นอะไหล่ ถูกขโมยไม่รู้เรื่อง กันขโมยเอาไม่อยู่ กว่าจะรู้ว่าหายก็ออกนอกชายแดนแล้ว ให้อายฟลีตดูแลรถคุณ.. ติดตามตำแหน่งรถยนต์ ตลอด 24 ชม. สั่งดับเครื่องก่อนโจรสตาร์ท อบอุ่นใจ ปลอดภัย สั่งงานง่ายแค่ใช้ปลายนิ้ว!

ตอบ ควรพิจารณาถึง 2 ส่วนหลักๆ คือ
2.1) "กล่องจีพีเอส" ติดตามรถยนต์ (GPS Tracker)
ควรพิจารณาคุณภาพของกล่องจีพีเอสประกอบกับราคาที่เหมาะสม รวมถึงการรับประกันที่คุ้มค่าแก่การลงทุน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายระยะยาว เช่น กรณีกล่องจีพีเอสคุณภาพสูง แจ้งว่ามีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 5 ปี แต่รับประกันตัวกล่องเพียง 1 ปี (บางแห่งคิดค่า ต่อประกันเพิ่มในปีถัดไป) ซึ่งอาจรับประกันเฉพาะตัวกล่อง ยังไม่รวมค่าช่างและค่าเดินทาง เป็นต้น
2.2) "โปรแกรม" ติดตามรถยนต์ (Tracking Systems)
สิ่งที่จำเป็นต้องดูมากที่สุดของตัวโปรแกรม คือ Server ควรเลือก Server ที่ตั้งอยู่ในเมืองไทย เพื่อความรวดเร็วในการเข้าถึงและการใช้งาน หากเลือกบริษัทที่มีการคิดค้นโปรแกรมขึ้นเองและมีทีมโปรแกรมเมอร์พัฒนาอยู่เสมอ ก็จะทำให้โปรแกรมมีคุณภาพที่ดีไปตลอด เพราะมีการอัพเดตตลอดเวลา นอกจากนี้ควรพิจารณาบริษัทที่มีแผนที่เป็นลิขสิทธิ์ของตัวเองด้วย เนื่องจากจะมีรายละเอียดของแผนที่ ที่ทางบริษัทสามารถเข้าถึงและควบคุมได้มากกว่าการใช้แผนที่ของที่อื่น ประกอบกับฟังก์ชั่นของโปรแกรม ควรตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ และใช้งานง่าย
ตอบ ระบบ "A-GPS" คือ การระบุตำแหน่งรถโดยคำนวณจากเสารับสัญญาณโทรศัพท์
ข้อดี : ผู้ใช้สามารถตรวจสอบตำแหน่งรถได้ แม้ไม่ได้รับสัญญาณดาวเทียม GPS
ข้อเสีย : สามารถระบุตำแหน่งรถได้แม่นยำน้อยกว่า "สัญญาณจีพีเอสจากจานดาวเทียม"
ตัวอย่างเช่น
"กล่องจีพีเอส" รับสัญญาณจากเสาส่ง GSM ซึ่งตั้งอยู่บนตึก "ทรู รัชดา" ตำแหน่งรถที่ผู้ใช้ทราบ คือ จุดที่รถจอดในพื้นที่ที่เสา GSM ส่งสัญญาณไปถึง (แต่จะไม่ทราบระยะห่างที่แน่นอนระหว่างตัวรถกับเสาส่งสัญญาณได้ เนื่องจากระบบจะทำการซุ่มแสดงตำแหน่งรถภายในพื้นที่วงแหวนรัศมีของเสาสัญญาณ) ระบบ "A-GPS" โดยทั่วไปจึงมักนำมาใช้เสริมเฉพาะกรณีที่ "กล่องจีพีเอสติดตามรถยนต์" ได้รับ "สัญญาณจีพีเอส" จากจานดาวเทียมได้ไม่เต็มที่
** หากบริษัทใดอ้างว่า "กล่องจีพีเอสติดตามฯ สามารถระบุตำแหน่งรถผ่านระบบ A-GPS ได้" ย่อมไม่เป็นความจริง เนื่องจากระบบ "A-GPS" สามารถแสดงได้เพียงตำแหน่งรถยนต์ในพื้นที่ของเสาสัญญาณ แต่จะไม่ทราบระยะห่างที่แน่นอนระหว่างตัวรถกับเสาได้ แม้จะได้รับสัญญาณ GSM จากเสาสัญญาณ 3-4 ต้น ก็ตาม

ตอบ หลักการทำงานของกล่องจีพีเอส มี 2 แบบหลักๆ คือ แบบ "offline" กับ "online"
1.1) แบบ "offline" ผู้ใช้สามารถตรวจสอบตำแหน่งรถยนต์ได้โดยการนำกล่องจีพีเอสมาต่อกับคอมฯ เพื่ออ่านข้อมูล
1.2) แบบ "online" สามารถแยกย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ
- "แบบแจ้งตำแหน่งรถ ผ่านระบบ sms" (กึ่ง offline)
ผู้ใช้จะสามารถตรวจสอบตำแหน่งรถยนต์ได้เมื่อมีการสั่งให้กล่องจีพีเอสส่งตำแหน่งรถยนต์ผ่านระบบ sms เข้ามาที่่มือถือของผู้ใช้ กล่องจีพีเอสประเภทนี้ มักใช้สำหรับติดตามตัวบุคคล สิ่งของ หรือสัตว์เลี้ยง เป็นส่วนใหญ่
- "แบบแจ้งตำแหน่งรถและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ผ่านการกักเก็บข้อมูลไว้ที่เครื่อง Server" (realtime-online)
หลักการทำงานประเภทนี้สามารถทำให้ผู้ใช้เรียกดูตำแหน่งของรถยนต์ได้ตลอดเวลา ทั้งตำแหน่งรถในขณะปัจจุบันและตำแหน่งรถย้อนหลัง เพราะมีการกักเก็บข้อมูลไว้ที่เครื่อง Server ก่อน ทำให้มีความสะดวกสบายและมีข้อจำกัดน้อยกว่าแบบอื่น ซึ่งกล่องจีพีเอสประเภทนี้มักทำงานควบคู่กับ "โปรแกรม GPS Tracking" ในอ่านข้อมูล
** ("ระบบติดตามรถของอายฟลีต" เป็นแบบ "realtime – online")
ตอบ บริษัท อีสท์อินโนเวชั่น จำกัด ได้เปิดตัวกล่องจีพีเอสติดตามฯ รุ่นใหม่ที่รองรับคลื่นความถี่ 3G 2100 Mhz ชื่อว่า "กล่องอายฟลีต จีพีเอสฯ" รุ่น M3 ที่มีความสามารถในการทำงานและส่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวรถได้อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมพื้นที่มากกว่าเดิม เนื่องจากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันได้หยุดการวางเสาสัญญาณคลื่นความถี่เก่าและหันมาขยายเสาส่งสัญญาณสำหรับคลื่นความถี่ 3G 2100 Mhz มากขึ้น ทำให้กล่องจีพีเอสติดตามฯ ที่รองรับคลื่น 3G ได้รับสัญญาณที่ดีกว่าเดิม (เพราะสามารถรับส่งสัญญาณได้ บนคลื่นความถี่เก่าและคลื่นความถี่ใหม่)
** โปรดระวังผู้ให้บริการบางรายที่มีการโฆษณาว่า "กล่องจีพีเอสติดตามฯ รองรับคลื่น 3G" ที่อาจนำซิม 3G มาใส่เครื่อง 2G แบบธรรมดา (ซึ่งซิม 3G สามารถ Roaming เป็นสัญญาณแบบ 2G ได้ ทำให้ตัวเครื่องไม่ได้รับคลื่น 3G แต่อย่างใด)
ตอบ "กล่องอายฟลีต จีพีเอสฯ" ที่ตั้งค่าเป็น "Sleep Mode"
มีข้อดี คือ ในขณะที่ตัวเครื่องหยุดทำงาน จะช่วยประหยัดไฟและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรับส่งสัญญาณลง
ข้อเสีย คือ ช่วงเวลาที่ตัวเครื่องหยุดทำงาน ผู้ใช้จะไม่สามารถทราบได้เมื่อตัวเครื่องถูกถอดออก (เนื่องจากตัวเครื่องมีการหยุดการทำงานลงชั่วคราว)
แต่ "กล่องอายฟลีต จีพีเอสฯ" ที่ทำงานตลอด 24 ชม. สามารถทำงานรับส่งข้อมูลและแจ้งให้ทราบได้ตลอดเวลา เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นกับตัวรถ
** "กล่องอายฟลีต จีพีเอสฯ" ทุกตัว ทำงานตลอด 24 ชม. ไม่มีการตั้งค่าเป็น "Sleep Mode" โดยไม่แจ้งให้ผู้ใช้ทราบล่วงหน้า เพื่อสร้างผลกำไรส่วนตัวให้แก่ทางบริษัทฯ

"แบบฝังบนเครื่องคอมฯ" ผู้ใช้ต้องลงโปรแกรมที่เครื่องคอมฯ หรือโน้ตบุคเพื่อเปิดดูข้อมูล (สำหรับเครื่องคอมฯที่ไม่ได้ลงโปรแกรม สามารถดูได้เพียงข้อมูลพื้นฐานทั่วไป และส่วนมากไม่สามารถเปิดดูจากโทรศัพท์มือถือได้ บางโปรแกรมผู้ใช้อาจต้องซื้อเครื่องคอมฯสำหรับคอยรับส่งข้อมูลโดยเฉพาะ ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลและบำรุงรักษาเพิ่มขึ้น) จึงไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากเป็นระบบเก่า
"แบบฝังบนเว็บ" ผู้ใช้สามารถเปิดดูข้อมูลได้กับทุกอุปกรณ์ที่ต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็น คอมฯ โน้ตบุค หรือโทรศัพท์มือถือ ทำให้ไม่ต้องซื้อเครื่องคอมฯสำหรับคอยรับส่งข้อมูลเหมือนกับแบบฝังบนเครื่องคอมฯ เนื่องจากมีผู้ให้บริการรับผิดชอบและดูแลในส่วนของ Server ให้แล้ว ทำให้โปรแกรมติดตามรถยนต์รุ่นใหม่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนการใช้งานมาเป็นแบบฝังบนเว็บ (โปรแกรมจีพีเอสติดตามฯของอายฟลีตก็เช่นกัน)